By Computer For Kids
วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555
3G คืออะไรแล้วทำอะไรได้บ้าง ?
3G คืออะไร?
ก่อนจะมาถึงยุค 3G
โทรศัพท์มือถือที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน โดยแบ่งเป็นยุคหรือเจเนอเรชั่น (Generation) ต่างๆ ดังนี้
เจเนอเรชันที่ศูนย์ (0G) เป็นยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนระบบเซลลูลาร์ เป็นโทรศัพท์ที่ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารยุคแรก เช่น โทรศัพท์ที่ใช้กันในรถยนต์
เจเนอเรชันที่หนึ่ง (1G) เป็นการเริ่มต้นการใช้ระบบสื่อสารแบบเซลลูลาร์ มีข้อจำกัดอยู่ที่จำนวนสัญญาณ เพราะว่ามีจำนวนช่องสัญญาณที่น้อย ทำให้ติดขัดในเรื่องของการขยายจำนวนหมายเลขในอนาคต ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการพัฒนาระบบดิจิตอลขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาช่องสัญญาณที่จำกัด
เจเนอเรชันที่สอง (2G) มีการพัฒนาโดยนำระบบดิจิตอลเข้าสู่โลกการสื่อสารไร้สาย นั่นคือมีการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณ รวมทั้งยังทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากขึ้น ในยุคนี้มีความต้องการสื่อสารข้อมูลประเภทที่ไม่ใช่เสียงอย่างเดียวเกิดขึ้นด้วย ซึ่งโทรศัพท์มือถือในยุคนี้สามารถใช้บริการ SMS ได้แล้ว
เจเนอเรชันที่ 2.5 และ 2.75 (2G และ 2.75G) พื้นฐานของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ยังคงเหมือนกับยุคที่สอง โดยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอื่นๆ เช่น GPRS (General Packet Radio Service) และ EDGE (Enhanced Data Rate for GSM Evolution) ลักษณะของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ คือ หน้าจอสี และมีกล้องถ่ายรูป
เจเนอเรชันที่ 3 (3G) เป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในยุค 2.5G/2.75G จะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าในเรื่องของรับส่งข้อมูลแล้วนั้น แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่
สำหรับเครือข่ายที่เป็น 3G จะถูกกำหนดโดย ITU (International Telecommunication Union) โดยใช้มาตรฐานที่เรียกว่า IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000) ซึ่งระบบที่เป็น ไปตามมาตรฐาน IMT-2000 มีดังนี้
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัวมีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน W-CDMA (Wideband Code Division Multiple Access) ซึ่งจะทำงานบนแถบความถี่กว้างที่ 10MHz โดยใช้ช่องความถี่สำหรับการส่งและรับสัญญาณระหว่างเครื่องมือถือกับสถานีฐานช่องละ 5 MHz สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2 Mbps
W-CDMA เป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM การพัฒนาไปเป็น 3G จะต้องเปลี่ยนระบบให้เป็น W-CDMAดังนั้น เราจึงเรียก W-CDMA ว่าเป็นระบบ 3G ของฝั่ง GSM
จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ W-CDMA
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice โดยที่คุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะเร็วกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G/2.75G มาก
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิดซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐานGSM
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลกซึ่งจะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเมื่อตอนที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
4. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการขยายพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุมได้เป็นวงกว้าง พร้อมๆกับความสะดวกในการขยายขีดความสามารถเพื่อรองรับข้อมูลข่าวสารได้ดียิ่งขึ้น
5. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล
6. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถให้รองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราความเร็วสูงขึ้น เช่น การพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราความเร็วที่สูงมากถึง 14 Mbps
7. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทาง การพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN หรือแม้กระทั่ง Wi-Max ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
CDMA2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G มีเทคโนโลยีหลักคือCDMA2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA เป็นที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า IS-2000
CDMA2000 เป็นเทคโนโลยี 3G ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนผู้ให้บริการกว่า 258 รายใน 98ประเทศ และผู้ใช้บริการมากกว่า 438 ล้านราย CDMA2000 เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย สามารถทำงานบนแถบความถี่ 450, 700, 800, 1700, 1900, AWS และ 2100 MHz
TD-SCDMA (Time Division Synchronous Code Division Multiple Access) เป็นหนึ่งในสามของเทคโนโลยีระบบ CDMA ที่มีมาตรฐานการสื่อสารในระดับ 3G ที่ได้รับการรับรองโดย ITU ถูกพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน
ลักษณะการทำงานของ 3G
เทคโนโลยี 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเดิม ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, การประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง รวมไปถึงการชมภาพยนตร์แบบสั้นๆผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือ
ประโยชน์ของ 3G
3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว รวมทั้งกล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน Account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น ตรวจสอบค่าใช้บริการ, แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว
จุดเด่นของ 3G
จุดเด่นที่สุดของ 3G คงหนีไม่พ้นความเร็วในการเชื่อมต่อ และส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เน้นการติดต่ออย่างสมบูรณ์แบบ เช่น การประชุมทางไกล, ดาวน์โหลด Contents หรือ Applications ต่างๆ, การตรวจสอบเส้นทาง ซึ่งจะทำให้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น 3G ทำให้เราสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วฉับไว เพิ่มความสะดวกสบายให้กับการดำเนินชีวิต และหัวใจหลักอย่างการเป็นระบบ Always on นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และล็อกอินทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย
3G คืออะไร?
|
ก่อนจะมาถึงยุค 3G
โทรศัพท์มือถือที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน โดยแบ่งเป็นยุคหรือเจเนอเรชั่น (Generation) ต่างๆ ดังนี้
เจเนอเรชันที่ศูนย์ (0G) เป็นยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนระบบเซลลูลาร์ เป็นโทรศัพท์ที่ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารยุคแรก เช่น โทรศัพท์ที่ใช้กันในรถยนต์
เจเนอเรชันที่หนึ่ง (1G) เป็นการเริ่มต้นการใช้ระบบสื่อสารแบบเซลลูลาร์ มีข้อจำกัดอยู่ที่จำนวนสัญญาณ เพราะว่ามีจำนวนช่องสัญญาณที่น้อย ทำให้ติดขัดในเรื่องของการขยายจำนวนหมายเลขในอนาคต ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการพัฒนาระบบดิจิตอลขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาช่องสัญญาณที่จำกัด
เจเนอเรชันที่สอง (2G) มีการพัฒนาโดยนำระบบดิจิตอลเข้าสู่โลกการสื่อสารไร้สาย นั่นคือมีการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณ รวมทั้งยังทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากขึ้น ในยุคนี้มีความต้องการสื่อสารข้อมูลประเภทที่ไม่ใช่เสียงอย่างเดียวเกิดขึ้นด้วย ซึ่งโทรศัพท์มือถือในยุคนี้สามารถใช้บริการ SMS ได้แล้ว
เจเนอเรชันที่ 2.5 และ 2.75 (2G และ 2.75G) พื้นฐานของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ยังคงเหมือนกับยุคที่สอง โดยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอื่นๆ เช่น GPRS (General Packet Radio Service) และ EDGE (Enhanced Data Rate for GSM Evolution) ลักษณะของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ คือ หน้าจอสี และมีกล้องถ่ายรูป
เจเนอเรชันที่ 3 (3G) เป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในยุค 2.5G/2.75G จะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าในเรื่องของรับส่งข้อมูลแล้วนั้น แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่
สำหรับเครือข่ายที่เป็น 3G จะถูกกำหนดโดย ITU (International Telecommunication Union) โดยใช้มาตรฐานที่เรียกว่า IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000) ซึ่งระบบที่เป็น ไปตามมาตรฐาน IMT-2000 มีดังนี้
|
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัวมีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน W-CDMA (Wideband Code Division Multiple Access) ซึ่งจะทำงานบนแถบความถี่กว้างที่ 10MHz โดยใช้ช่องความถี่สำหรับการส่งและรับสัญญาณระหว่างเครื่องมือถือกับสถานีฐานช่องละ 5 MHz สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2 Mbps
W-CDMA เป็นระบบ 3G ของฝั่งระบบ GSM การพัฒนาไปเป็น 3G จะต้องเปลี่ยนระบบให้เป็น W-CDMAดังนั้น เราจึงเรียก W-CDMA ว่าเป็นระบบ 3G ของฝั่ง GSM
จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ W-CDMA
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice โดยที่คุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะเร็วกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G/2.75G มาก
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิดซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐานGSM
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลกซึ่งจะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเมื่อตอนที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
4. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการขยายพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุมได้เป็นวงกว้าง พร้อมๆกับความสะดวกในการขยายขีดความสามารถเพื่อรองรับข้อมูลข่าวสารได้ดียิ่งขึ้น
5. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล
6. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถให้รองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราความเร็วสูงขึ้น เช่น การพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราความเร็วที่สูงมากถึง 14 Mbps
7. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทาง การพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN หรือแม้กระทั่ง Wi-Max ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
CDMA2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G มีเทคโนโลยีหลักคือCDMA2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA เป็นที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า IS-2000
CDMA2000 เป็นเทคโนโลยี 3G ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนผู้ให้บริการกว่า 258 รายใน 98ประเทศ และผู้ใช้บริการมากกว่า 438 ล้านราย CDMA2000 เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย สามารถทำงานบนแถบความถี่ 450, 700, 800, 1700, 1900, AWS และ 2100 MHz
TD-SCDMA (Time Division Synchronous Code Division Multiple Access) เป็นหนึ่งในสามของเทคโนโลยีระบบ CDMA ที่มีมาตรฐานการสื่อสารในระดับ 3G ที่ได้รับการรับรองโดย ITU ถูกพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน
ลักษณะการทำงานของ 3G
เทคโนโลยี 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเดิม ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, การประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง รวมไปถึงการชมภาพยนตร์แบบสั้นๆผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือ
ประโยชน์ของ 3G
3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว รวมทั้งกล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน Account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น ตรวจสอบค่าใช้บริการ, แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว
จุดเด่นของ 3G
จุดเด่นที่สุดของ 3G คงหนีไม่พ้นความเร็วในการเชื่อมต่อ และส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เน้นการติดต่ออย่างสมบูรณ์แบบ เช่น การประชุมทางไกล, ดาวน์โหลด Contents หรือ Applications ต่างๆ, การตรวจสอบเส้นทาง ซึ่งจะทำให้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น 3G ทำให้เราสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วฉับไว เพิ่มความสะดวกสบายให้กับการดำเนินชีวิต และหัวใจหลักอย่างการเป็นระบบ Always on นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และล็อกอินทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)